เมนู

บทว่า ตทฺธิมุตฺโต ได้แก่น้อมใจไปในฌานนั้นแหละ. บทว่า ตพฺพหุลวิ หารี
ได้แก่ อยู่กับฌานนั้นเป็นส่วนมาก. บทว่า สหพฺยตํ อุปปชฺชติ ได้แก่
เข้าถึงความเป็นสหาย อธิบายว่า ย่อมบังเกิดในเทวโลกนั้น.
คำมีอาทิว่า นิรยมฺปิ คจฺฉติ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงการ
ไปนรกนั้น ด้วยสามารถแห่งปริยายอื่น เพราะไม่พ้นจากนรกเป็นต้นไปได้
เพราะว่า เขาไม่มีอกุศลกรรมที่มีกำลังมากกว่าอุปจารฌาน ซึ่งจะเป็นเหตุให้
เกิดในอบายติดต่อกัน. บทว่า ภควโต ปน สาวโก ได้แก่พระสาวก
องค์ใดองค์หนึ่ง บรรดาพระสาวกผู้เป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี และ
พระอนาคามีทั้งหลาย. บทว่า ตสฺมึเยว ภเว ได้แก่ ในอรูปภพนั่นเอง.
บทว่า ปรินิพฺพายติ ความว่า จะปรินิพพาน ด้วยปรินิพพานที่หาปัจจัยมิได้.
ความเพียรเป็นเครื่องประกอบอย่างยิ่ง ชื่อว่า อธิปฺปายาโส คำที่เหลือใน
พระสูตรนี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาแล้ว นั่นแล. อนึ่ง ในพระสูตรนี้ ฌาน
ที่จะเป็นเหตุให้อุปบัติ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้สำหรับปุถุชน สำหรับ
พระอริยสาวก ตรัสทั้งความที่เป็นเหตุให้อุปบัตินั่นเอง ทั้งฌานที่เป็นบาท
แห่งวิปัสสนาด้วย.
จบอรรถกถาอาเนญชสูตรที่ 4

5. อยสูตร



ว่าด้วยวิบัติ 3 และสัมปทา 3



[557] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิบัติ (ความเสีย) 3 นี้ วิบัติ 3 คือ
อะไร คือ สีลวิบัติ (ความเสียทางศีล) จิตตวิบัติ (ความเสียทางจิต) ทิฏฐิ-
วิบัติ (ความเสียทางทิฏฐิ)

สีลวิบัติเป็นอย่างไร ? คนลางคนในโลกนี้ เป็นคนมักทำปาณาติบาต
อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มักพูดมุสาวาท ปิสุณาวาจา (คำส่อเสียด)
ผรุสวาจา (คำหยาบ) สัมผัปปลาป (คำเหลวไหล) นี่เรียกว่าสีลวิบัติ
จิตตวิบัติเป็นอย่างไร ? คนลางคนในโลกนี้ เป็นคนมีอภิชฌา
(เห็นแก่ได้) มีใจพยาบาท นี่เรียกว่าจิตตวิบัติ
ทิฏฐิวิบัติเป็นอย่างไร ? คนลางคนในโลกนี้ เป็นมิจฉาทิฎฐิ
มีความเห็นวิปริต (ผิดจากคลองธรรม) ว่า (1) ทานไม่มีผล (2) การบูชา
ไม่มีผล (3) การบวงสรวงไม่มีผล (4) ผลวิบากของกรรมดีและชั่วไม่มี (5)
โลกนี้ไม่มี (6) โลกอื่นไม่มี (7) มารดาไม่มี (8) บิดาไม่มี (9) สัตว์
ที่เป็นโอปปาติกะไม่มี (10) สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินถูกทางผู้ปฏิบัติชอบ
ที่กระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเองแล้วสอนโลกนี้และโลกอื่นให้รู้
ไม่มีในโลก นี่เรียกว่าทิฏฐิวิบัติ
สัตว์ทั้งหลายเพราะกายแตกไปย่อมเข้าถึงอบายทุคติวินิบาตนรก เหตุ-
สีลวิบัติบ้าง เหตุจิตตวิบัติบ้าง เหตุทิฏฐิวิบัติบ้าง
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย วิบัติ 3
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมปทา (ความถึงพร้อม) 3 นี้ สัมปทา 3
คืออะไร คือ สีลสัมปทา จิตตสัมปทา ทิฏฐิสัมปทา
สีลสัมปทาเป็นอย่างไร ? คนลางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นจากปาณา-
ติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร เว้นจากมุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา
สัมผัปปลาป นี้เรียกว่าสีลสัมปทา
จิตตสัมปทาเป็นอย่างไร ? คนลางคนในโลกนี้ไม่มีอภิชฌา ไม่มี
ใจพยาบาท นี่เรียกว่าจิตตสัมปทา

ทิฏฐิสัมปทาเป็นอย่างไร ? คนลางคนในโลกนี้ เป็นสัมมาทิฏฐิ
มีความเห็นไม่วิปริตว่า (1) ทานมีผล (2) การบูชามีผล (3) การบวงสรวง
มีผล (4) ผลวิบากของกรรมดีและชั่วมี (5) โลกนี้มี (6) โลกอื่นมี (7)
มารดามี (8) บิดามี (9) สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมี (10) สมณพราหมณ์
ผู้ดำเนินถูกทาง ผู้ปฏิบัติชอบ ที่กระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง
แล้วสอนโลกนี้และโลกอื่นให้รู้มีอยู่ในโลก นี่เรียกว่าทิฏฐิสัมปทา
สัตว์ทั้งหลายเพราะกายแตกตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เหตุ-
สีลสัมปทาบ้าง เหตุจิตตสัมปทาบ้าง เหตุทิฏฐิสัมปทาบ้าง
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา 3.
จบอยสูตรที่ 5

อรรถกถาอยสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอยสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สีลวิปตฺติ ได้แก่ อาการที่ศีลวิบัติ. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัย
นี้แหละ. ด้วยบทว่า นตฺถิ ทินฺนํ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาความที่
ทานที่ให้แล้วไม่มีผล. การบูชาใหญ่ เรียกว่า ยิฏฐะ. ลาภสักการะที่เพียงพอ
ทรงประสงค์เอาว่า หุตะ. มิจฉาทิฏฐิบุคคล ห้ามยิฏฐะ และหุตะ ทั้งสอง
นั้น ว่าไม่มีผลเลย. บทว่า สุกฏทุกฺกฏานํ ได้แก่ กรรมที่ทำดีและทำชั่ว
อธิบายว่า ได้แก่กุศลกรรม และอกุศลกรรม. ด้วยบทว่า ผลํ วิปาโก
มิจฉาทิฏฐิบุคคลกล่าวสิ่งที่เรียกว่า ผล หรือ วิบาก ว่าไม่มี.